ททท. โคราช ยกระดับการท่องเที่ยววัฒนธรรม ใช้ QRCODE เข้าถึงชุมชน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสมัยใหม่

ททท. โคราช ยกระดับการท่องเที่ยววัฒนธรรม ใช้ QRCODE เข้าถึงชุมชน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสมัยใหม่

 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา ร่วมกับ การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา,บริษัท อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ช็อปปิ้ง เซ็นเตอร์ นครราชสีมา จัดแถลงข่าว “โครงการยกระดับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ชุดที่ 3 กิจกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว” ปลูกฝังให้ประชาชน และเยาวชน ในพื้นที่สามารถพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสมัยใหม่ ใช้ QRCODE เข้าถึงชุมชน ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยในงานได้รับเกียรติจาก ผอ.รุ่งทิพย์ บุกขุนทด ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน ณ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ช็อปปิ้ง เซ็นเตอร์ นครราชสีมา

โดยในงานยังจัดให้มีการเสวนาและจัดนิทรรศการ โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ผอ.รุ่งทิพย์ บุกขุนทด ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา ,นายสัญญา อินติยะ ซีอีโอ บริษัท อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด ตัวแทนผู้จัดทำโครงการ, นายชอบ สร้อยจิตต์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน ท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา และท่านอาจารย์สุรินทร์ สหิบุญ ครูผู้เชี่ยวชาญมีประสปการณ์ด้านการท่องเที่ยวชุมชน โรงเรียนสีคิ้วสวัสดิ์ ผดุงวิทยา จังหวัด นสครราชสีมา เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ พร้อมด้วยการจัดพิธีมอบป้าย QRCODE ให้ 15 ชุมชนท่องเที่ยวท้องถิ่น ได้แก่ 1.บ้านท่าช้าง อ.ปากช่อง 2. อ่างห้วยซับประดู่ อ.สีคิ้ว 3. คลองแจ้ง อ.สีคิ้ว ท่าช้าง อ.ปากช่อง 4. บ้านไร่ อ.ด่านขุนทด 5. บ้านไท-ญวน อ.สีคิ้ว 6. ดอนกลอย อ.ด่านขุนทด 7. โนนกระถิน อ.สีคิ้ว 8. เหวปลากั้ง อ.ปากช่อง 9. คลองดินดำ อ.ปากช่อง 10. ภูไทพัฒนา อ.ปากช่อง 11. บ้านใหม่สันติ อ.สูงเนิน 12. บ้านคลองขวาง อ.สูงเนิน 13. บ้านมะเกลือเก่า อ.สูงเนิน 14. บ้านนาใหญ่ อ.สูงเนิน 15. บ้านโนนตะโก อ.สูงเนิน


ผอ.รุ่งทิพย์ บุกขุนทด ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา. เผยว่า “จากแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียเหนือตอนล่าง 1 (พ.ศ. 2561 – 2564) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2562 ได้แก่ กลุ่มจังหวัดชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของกลุ่ม เป็น “ศูนย์กลางเกษตรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ ท่องเที่ยวอารยธรรมของ การค้าชายแดน สังคมเป็นสุข” อันเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นของกลุ่มจังหวัดชัยบุรินทร์ โดยมีตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย เป็นแหล่งผลิตภัณฑ์ไหมระดับประเทศ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทั้งการท่องเที่ยวอารยธรรมขอม เชิงนิเวศน์ การกีฬาที่มีชื่อเสียง และเป็นประตูสู่อีสาน และเชื่อมโยงการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอันเป็นหนึ่งในนโยบายของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดชัยบุรินทร์ ที่จะต้องเร่งให้การส่งเสริม


โดยกลุ่มจังหวัดชัยบุรินทร์ ถือเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหลากหลายแบ่งการท่องเที่ยวออกเป็น 6 กลุ่มอันได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต แหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะวัฒนธรรมและแหล่งมรดกประเพณี แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการ แหล่งท่องเที่ยวิงศาสนาและความเชื่อ แหล่งท่องเที่ยวเชิงสันทนาการและบันเทิง โดยที่ผ่านมาได้จัดทำการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมาตลอด
ทั้งนี้การจัดโครงการ“โครงการยกระดับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ชุดที่ 3 กิจกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว” จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ช่วยปลูกฝังให้ประชาชน และเยาวชน ในพื้นที่สามารถพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสมัยใหม่ ให้สารสนเทศสำหรับการท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้”


นายสัญญา อินติยะ ซีอีโอ บริษัท อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค จำกัด ตัวแทนผู้จัดทำโครงการ เผยต่อว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากลักษณะที่โดดเด่นของประเทศ อันได้แก่ ประวัติศาสตร์โบราณคดีที่บ่งบอกถึงอารยธรรม ความงดงามทางประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งพันธุ์พืช และสัตว์ที่น่าสนใจ นอกจากนี้คนไทยมีจิตในโอบอ้อมอารี เต็มไปด้วยมิตรไมตรี ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้หลายมุมมองและหลากหลายกระบวนการ


กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เป็นกลุ่มจังหวัดอีสานตอนใต้ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ เป็นกลุ่มที่มีชื่อเสียงทางด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวและได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติมาโดยตลอด เช่น ประสาทหินพิมาย ประสาทหินเขาพนมรุ้ง และปราสาทศรีขรภูมิ เป็นต้น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับกลุ่มจังหวัด รวมไปถึงการสร้างรายได้ให้กับภาคประชาชนอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว

โครงการยกระดับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้จัดทำข้อเสนอโครงการการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสมัยใหม่ เพื่อส่งเสริมความรู้ให้แก่ชุมชนทางด้านสารสนเทศในการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมความรู้ทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในด้านห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ โดยในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินการได้แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่ กิจกรรมการเสริมศักยภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสมัยใหม่ กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสารสนเทศสำหรับการท่องเที่ยว กิจกรรมการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ในยุคดิจิตอล และ การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา


นอกจากนี้ทางบริษัทได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการท่องเที่ยว โดยใช้ เทคโนโลยี QRCODE ติดตามป้ายหมู่บ้านท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถสแกนเพื่อเข้าถึงแหล่งชุมชน ซึ่งจะเริ่มเปิดใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2562 นี้ โดยเป็นการส่งข้อมูล รายชื่อโฮมสเตย์ พร้อมห้องพักที่ว่าง และรายละเอียด,ร้านอาหารในชุมชนพร้อมเรียกดูเมนูอาหาร,สินค้า OTOP ของชุมชน พร้อมราคา,สถานที่ท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยว จะถูกแสดงผ่านการอ่าน QRCODE เพียงครั้งเดียว และทางโครงการได้จัดฝึกอบรมให้แต่ละชุมชนสามารถอัพเดทข้อมูล สถานที่ท่องเที่ยว โฮมสเตย์ ร้านอาหาร สินค้า OTOP ได้ด้วยตนเอง โดยใช้บัตร QRCODE ในการเข้าสู่ระบบ ขั้นตอนต่าง ๆ ทางโครงการมุ่งเน้นให้ชุมชนที่มีความพร้อมด้านการท่องเที่ยว สามารถใช้งานง่าย และอัพเดทข้อมูลชุมชนให้กับนักท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา ระบบทั้งหมดเริ่มใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ในต้นเดือนมกราคม 2562 โดยทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และนำไปต่อยอดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต่อไปได้” นายสัญญา กล่าวทิ้งท้าย

 

Post Author: admin